อันตรายจากการทำงานในที่อับอากาศ อาจเกิดได้ ทั้งต่อ พนักงานและความเสียหายอย่างอื่น เช่น ทรัพย์สิน หรืออาจถึงชีวิต
สามารถสรุปได้ ดังนี้
- อันตรายที่เกิดจากการขาดอากาศหายใจ (Oxygen Deficient Atmosphere) ปกติอากาศจะมีออกซิเจนประมาณ 21% แต่ในที่อับอากาศมีออกซิเจนน้อยกว่า 19.5% ซึ่งอาจทำให้หมดสติ เสียชีวิต หรือเกิดอันตรายต่อระบบประสาท
- อันตรายที่เกิดจากภาวะบรรยากาศมีพิษ( Toxic Atmosphere ) คือ อันตรายที่เกิดจากกระบวนการต่างๆที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี หรือการปฏิบัติงานในที่อับอากาศที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ ผลผลิต หรือของเสียที่จะต้องกำจัด เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งอาจทำให้สติ หรือเสียชีวิตได้
- อันตรายที่เกิดจากภาวะบรรยากาศที่ไวไฟ ( Flammable Atmosphere) คือ อันตรายที่เกิดจากสภาวะบรรยากาศที่ไวไฟ ที่เกิดในที่อับอากาศส่วนใหญ่มักเกิดจากสภาพการณ์ที่มีระดับไอระเหยของสารเคมีไวไฟเกิดปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้เกิดการสะสม หรือตกค้างอยู่ในที่อับอากศที่สามารถติดไฟได้ หรือ เกิดการระเบิดขึ้นได้ หรือเกิดจากที่อับอากาศมีปริมาณออกซิเจนสูงกว่าปกติ(23.5%) หากเกิดการติดไฟหรือระเบิดจะทำให้ระดับความรุนแรงมีมากขึ้น เช่น มีเทน โปรเปน บิวเทน แอมโมเนีย
- อันตรายที่เกิดจากสภาพแวดล้อม
- เกิดจากสภาพพื้นที่ทำงานไม่เหมาะสม เช่น สถานที่ทำงานคับแคบ อยู่ในสภาพชื้นแฉะ มีสิ่งของกีดขวาง
- เกิดจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจิตวทยาสังคม เช่น ทำงานที่ต้องแข่งขันกับเวลา มีระยะเวลาที่จำกัด
- อันตรายที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น การใช้เครื่องมือกลในที่อับอากาศ การสั่นสะเทือน
- อันตรายที่เกิดจากอุณหภูมิที่ผิดปกติ
- อันตรายที่เกิดจากการสัมผัสกระแสไฟฟ้า
- อันตรายที่เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุอื่นๆ